Background

การกำหนดตำแหน่งของแสง

    การกำหนดตำแหน่งของแสงก็อยู่ในทิศทางเดียวกับแสงธรรมชาติ คือทิศทางไฟหลัก กึ่งย้อนแสงซ้ายหรือขวาของผู้ถ่ายเช่นกัน แต่ไม่ควรย้อนแสงโดยตรงเพราะอาจทำให้เกิดการสะท้อนกลับในจานอาหารประเภทที่เป็นน้ำหรือชามซุป สะท้อนกลับเข้ากล้องเป็นสีขาวไม่เห็นรายละเอียดในชาม

การเพิ่มแสงในเงามืด  เราจะใช้ไฟเพิ่มอีกแต่ในทิศตรงกันข้าม กับไฟหลัก เพื่อลดความเข้มของเงามืดที่ทอดลงที่พื้นหรือ เพิ่มความสว่างของอาหารในเงามืดให้มีรายละเอียดมากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำหนักของแสงไม่ให้เท่ากับแสงหลัก เพราะภาพที่ได้จะแบนเช่นกัน อาจใช้แผ่นสะท้อนแสง เช่น โฟมขาว กระจกเงาแผ่นเล็กๆ เพื่อช่วยทำให้แสงในเงามืดสว่างขึ้นได้เช่นกัน
 การเลือกรูรับแสง  หรือการกำหนดความลึกระยะชัด Deep of Field ที่ผมนิยมใช้ก็อยู่ประมาณ f 5.6-f 8  สำหรับกล้องเล็กDSLR  หรือ f11.5 -16  สำหรับกล้อง Medium Format  เพราะถ้าใช้หน้ากล้องแคบมากๆ ทำให้มีความลึกระยะชัดมากขึ้นจริงแต่คุณภาพของความคมชัดจะด้อยลงและอาจทำให้เกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง  

   เราควรมีวัตถุดิบ ที่เป็นของสดสำหรับใช้โรยหน้าอาหารอยู่ใกล้ๆ เช่น ใบผักชี ใบสะระแหน่ แช่น้ำเย็นใส่ถ้วยเอาไว้ใกล้ๆ เพราะผักเหล่านี้ค่อนข้างจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ
 และควรมีถ้วยน้ำมันพืชและพู่กันใช้สำหรับทาบนอาหารให้ดูเงางามและอาจช่วยให้สีสดขึ้น (ไม่ควรทาน้ำมันลงบนอาหารประเภททอดมากนัก เพราะดูแล้วจะไม่น่ารับประทาน ดูเสียสุขภาพ)


   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานการถ่ายภาพอาหารในแบบของผม ซึ่งไม่ได้เป็นการให้คำแนะนำ หรือสอนสั่งแต่อย่างใด เป็นเพียงความคิดเห็น ผมพูดเสมอว่าสำหรับผมถ่ายภาพเพื่อหาเลี้ยงชีพไม่ได้เก่งและยินดีรับความคิดเห็นของทุกท่านเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันเสมอครับ ที่สำคัญต้องพยายามสรรหาภาพที่ท่านชอบจากนิตยสารต่างๆ
หรือจากอินเตอร์เน็ตแล้วพิจารณาภาพนั้นๆ ในเรื่องของการกำหนดทิศทางแสง การใช้สีประกอบกันเป็นองค์ประกอบ เพื่อเป็นแนวทางที่ใช้ในการฝึกฝนจนชำนาญ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อยขอบคุณครับ  


Categories: Share