Background

เทคนิคการถ่ายภาพให้สวย

เทคนิคการถ่ายภาพให้สวย

ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มเริ่มเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้ว เนื่องจากมีกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเข้ามาแทนที่ด้วยความสะดวก
รวดเร็วในการใช้งาน แถมประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย คุณสามารถดูภาพจากจอคอม- พิวเตอร์ หรือจำเป็นต้องพิมพ์ภาพราคาภาพละ
4-5 บาทโดยไม่ต้องเสียค่าฟิล์มและค่าล้างฟิล์ม หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมต้องเรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพทั้งที่กล้องดิจิตอลก็ใช้งาน
ค่อนข้างง่าย กดปุ่มแล้วก็ถ่ายภาพได้ แต่คุณรู้ไหมว่าการถ่ายภาพออกมาให้สวยนั้นเป็นเรื่องที่ยากต้องมีประสบการณ์ เทคนิควิธีการ
ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
การถ่ายภาพย้อนแสงโดยใช้แฟลช
เป็นวิธีง่ายและได้ผลที่น่าพอใจ นิยมใช้ในกรณีที่ฉากหลังมีความสว่างมากๆ จะได้ภาพที่ถ่ายออกมามืดส่วนฉากหลังสว่าง
ดังนั้นเมื่อคุณถ่ายภาพที่มีลักษณะย้อนแสงให้คุณเปิดฟังก์ชันการใช้แฟลชขึ้นมาเนื่อง- จากกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะวัดแสงปกติ
เมื่อสภาพแสงมีความสว่างพอดีแฟลชจึงไม่ทำงาน ดังนั้นถ้าคุณใช้กล้องในโหมด Auto ทั้งหมดจะไม่สามารถใช้แฟลชได้

คุณจะต้องปรับเข้าสู่โหมด Programmable (P Mode) เป็นโหมดที่อนุญาตให้คุณเปิดแฟลชเองได้แล้วจึงทำการถ่ายภาพ แต่ก็มี
กล้องบางรุ่นที่มีฟังก์ชันการถ่ายภาพ ย้อนแสงด้วยแฟลชที่เรียกว่า Fill in flash ซึ่งช่วยในการถ่ายภาพย้อนแสงได้ง่ายยิ่งขึ้น




การถ่ายภาพบุคคล (Portrait)
จะว่าไปแล้วแทบทุกคนที่ซื้อกล้องต้องเคยถ่ายรูปคนมาแล้วแน่ ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและยังเป็นกิจกรรมกลุ่มที่สนุก
สนานทั้งผู้ถ่ายและผู้ถูกถ่าย แต่ว่าตอนถ่ายอาจจะสนุกดีอยู่หรอก พอหลังจากถ่ายเสร็จแล้วกลับมาดูรูป ถ้าคุณถ่ายนางแบบแสนสวย
แต่ในภาพกลับดำบ้างขาวบ้างก็คงไม่สนุกแน่ ดังนั้นถ้าคุณมีเทคนิคการถ่ายภาพคนสวย ๆ ไว้บ้างก็จะช่วยได้มากทีเดียว
          การถ่ายภาพบุคคล จุดประสงค์หลักๆ ก็คือต้องการถ่ายทอดอารมณ์และกิริยาท่าทางของคนๆ นั้น ดังนั้นจึงต้องถ่ายให้
คนเด่นๆ เข้าไว้ก่อนการถ่ายภาพบุคคลนิยมใช้เทคนิคที่เรียกว่าชัดตื้นหมายถึง ภาพมีฉากหลังเบลอและตัวแบบชัดซึ่งเทคนิคนี้
เวลาถ่ายภาพจะใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุดเท่าที่เลนส์จะทำได้ประมาณ F 2.4 แล้วพยายามปรับทางยาวโฟกัสให้มากๆ โดยซูมเลนส์
ไปที่ 2-3 เท่าของเลนส์ ประมาณ 80-120 มม. (เทียบเท่าเลนส์กล้องฟิล์ม 35 มม.) จะทำให้ได้ภาพที่ตัวแบบดูเด่นออกมาจาก
ฉากหลังครับ ซึ่งโหมดการถ่ายภาพที่นิยมใช้กล้องดิจิตอลถ้าเป็นโหมดอัตโนมัติก็จะเป็นโหมดภาพถ่ายบุคคล (Portrait) ถ้าเป็น
โหมดกึ่งอัตโนมัติที่มืออาชีพชอบใช้ก็จะเป็นโหมดควบคุมรูรับแสง (A Mode)
          ข้อควรระวังคือ อย่าใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายแบบในระยะประชิดมาก เพราะจะทำให้ตัวแบบหน้าตา บิดเบี้ยวจากเลนส์ที่เกิด
อาการ Distortion เป็นอาการผิดสัดส่วนจากความเป็นจริง เช่น หน้าตายาว ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับเลนส์ของกล้องด้วยว่ามี Distortion
มากน้อยแค่ไหนทั้งหมดนี้เป็นเพียงพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ สำหรับมือใหม่ถ้าจะถ่ายรูปคนให้สวยต้องหมั่นฝึกฝนถ่ายรูปบ่อย ๆ ครับ











ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ (Landscape)
เมื่อคุณไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทุกคนมักจะนิยมถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึก การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
จะเน้นความคมชัดของวิวทิวทัศน์ทั่วทั้งภาพ จึงนิยมการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิคชัดลึกเพื่อให้มีความชัดทั่วทั้งภาพไม่ว่าวัตถุใน
ภาพจะอยู่ใกล้หรือไกล โดยโหมดที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพวิวทิว- ทัศน์ ได้แก่ โหมดควบคุมรูรับแสงหรือ A Modeเพื่อควบคุม
ความชัดลึก


          สำหรับกล้องดิจิตอลการถ่ายให้มีความชัดทั่วทั้งภาพนั้นง่ายมาก เพียงแค่ปรับรูรับแสงแคบลงประ- มาณ F 7.0 ขึ้นไป
(ยิ่งตัวเลขมากยิ่งรูรับแสงแคบ) ภาพก็มีความคมชัดทั่วทั้งภาพแล้ว แต่คุณควรระวังความ เร็วชัดเตอร์ที่อาจต่ำเกินไปจนไม่สามารถ
ถือกล้องถ่ายได้ เพราะว่ายิ่งรูรับแสงแคบมากเท่าใด ความเร็วซัดเตอร์ก็จะต่ำลงมากเท่านั้น ทางที่ดีควรมีขาตั้งกล้องเพื่อช่วยใน
การถ่ายภาพได้หลายแบบมากขึ้น
          ภาพวิวทิวทัศน์ที่นิยมถ่าย เช่น ภาพพระอาทิตย์ตก ภาพทะเล ซึ่งอาจต้องใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องหรือ ISO (ความเร็วใน
การรับแสงของกล้อง)ที่สูง เพราะสามารถชดเชยแสงตามต้องการส่วนใหญ่นิยมชดเชยแสงให้ลดลง (-) เล็กน้อย เพื่อให้ได้ภาพ
ที่มีลีสันเข้มข้น นอกจากนี้ความพิเศษของกล้องดิจิตอลคือ คุณสามารถปรับแต่งสีที่แปลกตาด้วยการใช้ระบบ White Balance
(เป็นระบบการปรับความสมดุลของสภาพแสง) ที่แปลกไปจากปกติโดยไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์สีเข้าช่วย เช่น เมื่อคุณถ่ายภาพพระอาทิตย์
ตก ภาพทะเล คุณลองปรับระบบ White Balance ไปที่ Tungsten สภาพแสงหลอดไฟขนาดใหญ่ หรือ Fluorescent
สภาพแสงหลอดไฟนีออน คุณจะได้ภาพโทนสีแปลกตาสวยงามไปอีกแบบ
ถ่ายภาพระยะใกล้ (Macro)
การออกไปถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ นั้นนอกจากจะสามารถเก็บภาพความประทับใจกับความสวย- งามของวิวทิวทัศน์
แล้วถ้าหากคุณเป็นคนช่างสังเกตยังสามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของสิ่งที่มองเห็นเช่น ภาพแมลง ภาพดอกไม้ มาเป็นภาพ
ที่สวยงามได้เช่นกันการถ่ายภาพแบบนี้เรียกว่า การถ่ายภาพแบบ ระยะใกล้ Macro


          กล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นถือว่าสามารถถ่ายภาพ Macro ได้ดีเป็นพิเศษ เพราะเป็นผลพลอยได้จากการออกแบบเลนส์และ
เซนเซอร์รับภาพขนาดเล็กของกล้อง ทำให้กล้องดิจิตอลสามารถถ่ายภาพระยะใกล้ได้ดีมากกล้องดิจิตอลบางรุ่นสามารถถ่ายภาพได้
ใกล้ถึง 1 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเป็นคนสังเกตด้วย
ถ่ายภาพแสงไฟกลางคืน (Night Light & Firework)
ในเวลากลางคืนเราก็สามารถถ่ายภาพได้เช่นกัน ซึ่งการถ่ายภาพแสงไฟในเวลากลางคืนก็ให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่
สนุกสนานได้อีกรูปแบบหนึ่ง การถ่ายภาพแสงไฟกลางคืนนั้นจำเป็นต้องมีขาตั้งกล้องขาดเสียไม่ได้เลย เพราะในยามที่มีแสงน้อย
อย่างในเวลากลางคืนนั้นมีแสงสว่างน้อยมาก ทำให้ความเร็วซัดเตอร์ที่ได้นั้นต่ำมากไม่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายภาพได้ เพราะจะ
ทำให้กล้องสั่นไหว จึงต้องพึ่งพาขาตั้งกล้อง


          การใช้โหมดการถ่ายภาพนั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องใช้โหมดใดขึ้นอยู่กับความถนัด เพราะมีข้อดีคนละแบบที่นิยมใช้กัน
ก็คือ โหมดปรับตั้งเองทั้งหมด M Mode สาเหตุที่ใช้โหมดนี้เนื่องจากในเวลากลางคืน แสงไฟมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้
สภาพแสงไม่อยู่นิ่ง คุณสามารถทดลองถ่ายภาพออกมาดูก่อนว่าแสงพอดีหรือยัง เมื่อทดลองถ่ายโดยตั้งค่ารูรับแสงและความเร็ว
ซัดเตอร์ที่พอเหมาะก็จำค่านั้นไว้ แล้วจึงใช้ค่าที่ได้อ้างอิงปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมซึ่งจะต้องหมั่นทดลองบ่อย ๆ ครับ
ถ่ายภาพแบบมุมกว้างมาก ๆ (Panorama)
เป็นการถ่ายภาพในมุมที่ต้องการความกว้างมากๆ เช่น รูปหมู่ในการรับปริญญาจำนวนคนมากกว่าหนึ่งร้อย รูปหาดทราย
ชายทะเล จุดเด่นของกล้องดิจิตอลอีกอย่างหนึ่งนั่นคือ การถ่ายภาพแบบพาโนรามาได้อย่างไม่ยาก เพียงแต่ขอให้มีโปรแกรมต่อภาพ
กล้องดิจิตอล เกือบทุกรุ่นก็สามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้แล้ว หลักการถ่ายภาพพาโนรามาของกล้องดิจิตอลคือการถ่ายภาพหลายๆ
ภาพต่อกันเพื่อให้ได้ภาพที่มุมมองกว้าง กว่าปกติซึ่งสามารถเลือกถ่ายได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
          การถ่ายภาพพาโนรามาเพื่อให้ได้ผลดี และภาพต่อกันได้สนิทควรใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องและระบบล็อคค่าความจำแสง
ความเร็วชัดเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่อยู่ในระนาบเดียวกันและมีแสงสว่างของภาพใกล้ เคียงกัน แต่กล้องดิจิตอลบางรุ่นก็มีระบบช่วย
เหลือการถ่ายภาพพาโนรามา ซึ่งจะแสดงภาพถ่ายที่ถ่ายไปแล้วไปที่จอ LCD (เป็นช่องมองภาพของกล้อง) เพื่อช่วยให้การถ่ายภาพ
ต่อไปต่อเนื่องกับภาพแรกได้ดียิ่งขึ้น แต่ถึงแม้จะไม่มีระบบช่วยเหลือนี้กล้องดิจิตอลก็ยังสามารถถ่ายภาพพาโนรามาได้อย่างดี
          องค์ประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลที่กล่าวถึงต่อไปนี้เป็นกล้องดิจิตอลขนาดเล็กคอมแพ็ค (Compact)
ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้


          ตัวกล้องดิจิตอล (Digital Camera) 
ตัวกล้องดิจิตอลนั้นไม่ได้ใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า เซนเซอร์ ใช้ในการบันทึกภาพแทนโดย
แปลงข้อมูลจากแสงมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แล้วบันทึกเก็บไว้ในอุปกรณ์
เก็บข้อมูลจากนั้นเราก็สามารถนำไปพิมพ์ออกมาเป็นภาพ หรือตกแต่งตามต้องการได้อีกด้วย
         
เลนส์ (Lens) 
ถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกล้องถ่ายภาพ เพราะเป็นส่วนที่เปรียบเสมือนดวงตาของกล้องเอาไว้รับภาพและแสงต่างๆ เข้าสู่
กล้องกล้องที่มีเลนส์คุณภาพดีก็เหมือนกับคนที่มีสายตาดี สามารถมองเห็นภาพมีความคมชัด เลนส์กล้องจะประกอบด้วนชิ้นเลนส์
จำนวนมาก เพื่อรับแสงและซูมขยายภาพ กล้องดิจิตอลรุ่นราคาแพงมักจะมาพร้อมกับเลนส์คุณภาพดี ที่สามารถรับแสงได้มากและ
มีความคมชัดสูง
          ช่องมองภาพ (Shutter Button) 
ช่องนี้เอาไว้มองภาพที่คุณกำลังจะถ่ายเพียงแค่คุณเอาดวงตามองผ่านช่องมองภาพแล้วเล็งภาพที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์
เพื่อบันทึกภาพ ช่องมองภาพของกล้องดิจิตอลมีหลายแบบ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
          ปุ่มชัตเตอร์ (Shutter Button) 
ปุ่มชัตเตอร์เป็นเหมือนปุ่มคำสั่งให้กล้องทำการบันทึกภาพนั้นๆ โดยทั่วไปการทำงานของปุ่มชัตเตอร์จะมี 2 จังหวะ คือ จังหวะแรก
กดลงไปครึ่งหนึ่งกล้องจะเริ่มทำงานปรับระยะความคมชัดของภาพ วัดแสงระยะที่สองเมื่อคุณกดลงไปจนสุดกล้องจะบันทึกภาพที่
ได้ทันที
          แฟลช (Flash) 
แฟลชมีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณต้องการถ่ายภาพในที่มืด หรือในที่ที่มีแสงน้อย แฟลชที่ติดมากับกล้องมักจะมีขนาดเล็กทำให้
ฉายแสงไปได้ไม่ไกลนัก ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 - 5 เมตร (อย่าเผลอเอานิ้วไปบังแฟลช นะครับ)
          จอภาพแอลซีดี (LCD) 
ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่แตกต่างที่สุดระหว่างกล้องถ่ายภาพใช้ฟิล์มกับกล้องดิจิตอล เพราะคุณสามารถสังเกตได้ทันทีจากภายนอกว่า
กล้องตัวนี้เป็นกล้องดิจิตอลหรือไม่ เพราะกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีจอ LCD อยู่ ประโยชน์ของจอ LCD มีไว้เพื่อดูภาพที่กำลังจะ
ถ่ายนั้นเองแต่ละรุ่นก็มีขนาดแตกต่างกันไป
          ช่องเก็บการ์ดหน่วยความจำ (Memory Slot) 
ช่องเก็บหน่วยความจำเปรียบเสมือนช่องใส่ฟิล์มในกล้องฟิล์ม เพราะการ์ดหน่วยความจำของกล้องดิจิตอลมีไว้เพื่อบันทึกไฟล์
รูปภาพที่ถ่ายไปแล้ว ซึ่งกล้องดิจิตอลแต่ละรุ่นจะใช้หน่วยความจำไม่เหมือนกัน

          ช่องเก็บแบตเตอรี่ (Battery) 
ก็เหมือนกับช่องใส่แบตเตอรี่โดยทั่วๆ ไปเพราะถ้ากล้องไม่มีแบตเตอรี่ ก็ไม่มีพลังงานในการทำงาน ช่องใส่แบตเตอรี่ในกล้อง
ดิจิตอลมักมีขนาดแตกต่างกันไป
          ช่องโอนถ่ายข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ 
เป็นส่วนที่ใช้โอนถ่ายข้อมูลรูปภาพที่คุณถ่ายไว้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งกล้องดิจิตอลทุกรุ่นจะมีช่องนี้มาให้พร้อมกับสายส่งข้อมูล
การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับกล้องดิจิตอลมีหลายแบบส่วนมากแล้วจะเป็นแบบ USB

           ช่องต่อทีวี (TV-OUT) 
ช่องสำหรับต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ ช่องนี้มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการดูภาพแล้วไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โหลดภาพคุณอาจต่อ
กล้องที่มี TV-OUT เข้ากับทีวีในบ้าน
          นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เรียบเรียงเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างกล้องดิจิตอลกับกล้องใช้ฟิล์ม และ การปรับความละเอียด
พิกเซลกับรูปถ่ายที่ขยายได้สูงสุด
เปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างกล้องดิจิตอลกับกล้องใช้ฟิล์ม
คุณสมบัติ
กล้องดิจิตอล
กล้องใช้ฟิล์ม
- คุณภาพรวมๆ
- ดู/ลบ/แก้ไข
- ตกแต่งภาพ
- ปรับแก้สี
- ทำสำเนา
- จัดส่งภาพ
- ค่าใช้จ่าย
- การเก็บรักษาภาพ
- ระยะเวลาจัดเก็บ
- บันทึกเสียง
- ขนาด
- ผ่านรังสีเอ็กซ์
- ภาพถ่ายต่อครั้งที่ถ่ายได้
- ใช้งานบนเว็บไซค์


- ปรับรายละเอียดที่กล้อง
- ดี
- ทำได้ทันทีทันใด
- ทำผ่านทางหน้าจอคอมฯ
- ทำได้ในตัวกล้อง
- เหมือนต้นฉบับ
- ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมฯ ส่งทางอินเทอร์เน็ตได้เลย
- ไม่เสียเงินค่าล้าง/อัดฟิล์ม
- บันทึกเก็บลงแผ่นซีดีได้
- เก็บในแผ่นซีดีได้นับร้อยปี
- วิดีโอ ทำได้ (ไม่ทุกรุ่น)
- เล็กกะทัดรัดจะออกแบบอย่างไรก็ได้
- ไม่มีปัญหาเรื่องภาพเสีย
- ครั้งละนับร้อยหรือพันภาพ (แล้วแต่เลือกใช้)
- ต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องคอมฯ ดึงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้เลย


- ปรับรายละเอียดที่กล้องใด้
- ดีมาก
- ต้องรอ/ทำได้ยาก
- ทำไม่ได้
- ต้องใช้ฟิลเตอร์ช่วย
- ด้อยกว่าต้นฉบับ
- ทำไม่ได้ ต้องส่งฟิล์ม
- เสียเงินค่าล้าง/อัดฟิล์ม
- เปลื้องเนื้อที่จัดเก็บ
- เสื่อมตามกาลเวลา
- ทำไม่ได้เลย
- ออกแบบให้เล็กมากไม่ได้
- อาจทำให้ฟิล์มเสีย
- ได้คราวละ24-36 ภาพ
- จะต้องสแกนภาพก่อน
ภาพที่สแกนได้จะสูญเสีย
ความละเอียดไป
- ทำไม่ได้






การปรับความละเอียดพิกเซลกับรูปถ่ายที่ขยายได้สูงสุด
ขนาดพิกเชล
ค่าพิกเชลโดยประมาณ
รูปที่สามารถขยายได้สูงสุด
- 640x480
- 1600x1200
- 2048x1356
- 2272x1704
- 2560x1920
- .>2560x1920
3 แสนพิกเซล
2.0 ล้านพิกเซล
3.0 ล้านพิกเซล
4.0 ล้านพิกเซล
5.0 ล้านพิกเซล
6.0 ล้านพิกเซล
4x6 นิ้ว(จัมโบ้)
5x7 นิ้ว
7x10 นิ้ว
8x11 นิ้ว
9x13 นิ้ว
11x14 นิ้ว

เอกสารอ้างอิง
          กวิน วารีกิจพันธ์, ธีรภัทร สุจิตรา, อวยพร โกมลวิจิตรกุล. 2546. ครบวงจรกล้องดิจิตอล สำนักพิมพ์สวัสดี ไอที กรุงเทพมหานคร.
          ศุภสิทธิ์ นาคเสน. 2546. กล้องดิจิตอลฉบับสมบูรณ์ สำนักพิมพ์อินโฟเพรส พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร. George Wallace, Chuck Gloman.
Digital Photography Solutions Solve Any Digital Camera Problem in 10 Minutes or


Categories: Share