Background

ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนคนชอบถ่าย

ONE Shot by BPNK

  • image1
  • image2
  • image3
  • image4
  • image2
  • image1
  • image4
  • image3
พาร์ทสุดท้ายแล้วนะคะ สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ต

พาร์ทนี้ขอนำเสนอ เกร็ดความรู้ในการถ่ายภาพนะคะ



Top Tip 1
          ระหว่างการถ่าย ถ้าเวทีเปิดสปอตไลท์แรงขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องไปปรับ ISO ลง ให้เพิ่ม speed shutter แทน เพราะอะไร?
เพราะปุ่มปรับ ISO มันกดยากกว่า speed shutter (Canon) ในความเห็นส่วนตัวของเรานะ เพราะต้องกดปุ่ม ISO แล้วไปหมุนปุ่มล้อหมุนที่นิ้วชี้ แต่ปรับ speed shutter แค่หมุนปุ่มล้อหมุนที่นิ้วชี้อย่างเดียว เร็วกว่ากันเยอะ เราจะได้ไม่เสียโอกาส moment สำคัญๆไปเพราะเอาแต่ปรับค่าอยู่ (อันนี้แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมันนะครับ)

Top Tip 2 ถ่ายมาลงเว็บหรือลง facebook ใช่ไหม?
          เวลาอยู่ในคอนเสิร์ตมันจะขยับไปไหนไม่ได้ถูกไหม คือพูดง่ายๆว่าท่านไม่สามารถวิ่งไปวิ่งมาเพื่อถ่ายรูปหามุมได้อย่างอิสระ ยังไงก็ต้องปักหลักถ่ายที่เดิมไปเรื่อยๆ ถ้าใครมีเลนส์ซูม ก็ซูมเข้าซูมออก
          ถ้าใครมีเลนส์ Fix ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็มันถ่ายได้แค่นั้นอยู่แล้วครับ วันที่เราไปเราใช้เลนส์ fix เหมือนกัน ใช้ 85mm ก็ยืนปักหลักถ่ายไปเรื่อยๆ แล้วเอาภาพมา crop ทีหลัง (ก็เอามาลงเว็บอะ มันไม่ได้ต้องการภาพใหญ่อะไรอยู่แล้วหนิ แค่ถ่ายอย่าให้เบลอก็โอเคแล้ว)



ตอนเราถ่าย เรารอจังหวะอยู่ 2 อย่าง
1. emo ของนักร้องหรือนักแสดง ต้องเป็น emo ที่มันดูพิเศษๆหน่อย ไม่ใช่ยืนร้องเฉยๆ ทำตาปรือๆ แบบนั้นเราไม่กดมาให้เสียจังหวะหรอก เราจะรอจังหวะที่มันได้ emo พิเศษๆถึงค่อยกด
2. แสงสปอตไลท์  ที่ส่องไปส่องมา หรือเปิดสีสันต่างๆ ถ้าได้แสงสวยๆ สีน่าสนใจ ก็กดไปเลย

สุดท้าย ถ้าโชคดี ได้ทั้ง emo ทั้งแสงสวยๆ ภาพคุณจะออกมาดีเลยหละ


credit : http://www.ilovetogo.com/
มาต่อกันเลยคะ กับเทคนิคการรถ่ายภาพคอนเสิร์ต 


ปรับ speed shutter เท่าไร?
-           เริ่มต้นจาก final image ที่เราอยากได้ก่อน ถ้าเราต้องการหยุดนักร้องให้ได้เป๊ะๆ ก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 1/250
-           แต่ถ้าเราอยากจะเก็บ movement ของนักร้องเวลาของขึ้น ก็ต้องใช้ speed ช้าๆ หน่อย อาจจะ 1/100 หรือต่ำกว่านั้นนิดหน่อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโยกของนักร้อง แต่อย่าให้ speed shutter ต่ำกว่าทางยาวโฟกัสนะครับ ไม่งั้นได้มีเบลอกันทั้งภาพ
-           ยกเว้นแต่เลนส์มีกันสั่น อันนี้ก็คำนวนกันเองนะ ว่าจะใช้ speed shutter ช้าประมาณไหนที่เราถือได้ แล้วเห็น movement ของนักร้องเวลาโยกหัว
-           งานนี้เราอยากได้ภาพคมชัด หยุดการเคลื่อนไหว เราเลยปรับ speed shutter 1/250 ขึ้นไป

ISO นี่ต้องดันกันเยอะไหมเนี่ย มืดๆ แบบนี้
          ไม่ต้องเลย ปกติก็ดันที่ประมาณ 1600 - 3200 เท่านั้น ไม่ต้องดันไปถึง 6400 หรอกครับ ไม่จำเป็นเลย แสงบนเวทีสว่างมากๆ อยู่แล้ว ส่วนจะดันเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับ ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่คุณปรับ และ fix ค่า speed shutter ไว้เท่าไร (วันนั้นติดเลนส์ F1.2 เข้าไป ใช้ speed 1/250 เลยดัน ISO แค่ 800)

ทำไมต้องถ่ายด้วย LiveView?
-           เพราะเราจะได้วัดแสงกันด้วยตาผ่าน LCD เลย เราดูง่ายๆ ว่าแสงมันสว่างไปไหม ดูแค่ที่หน้านักร้อง ให้แสงพอดีที่หน้านักร้องหรือคนที่เราจะถ่ายก็พอแล้วครับ
-           ใช้ LiveView วัดแสง มันง่ายกว่าวัดผ่าน ViewFinder เยอะ เพราะเราเห็นภาพที่จะได้เดี๋ยวนั้นเลย แถมการถ่ายด้วย LiveView ยังทำให้ง่ายต่อการยกกล้องให้พ้นหัวแฟนๆด้านหน้าๆด้วย

White Balance?

          เราตั้งเป็น Auto แล้วถ่ายเป็น RAW (เผื่อเอามาปรับแก้ไขด้วย Camera RAW) เพราะไม่มีเวลามานั่งดูโน่นนี่นั่น ปล่อยให้กล้องช่วยเราบ้าง Moment ดีๆ โดนๆ มาเร็วไปเร็ว


ยังไม่จบนะคะ เดี๋ยวแอดมินมาต่อ เทคนิคเกล็ดความรู้ในการถ่ายคอนเสิร์ตนะคะ 

อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ



credit : http://www.ilovetogo.com/



ช่างภาพในแบบ Wedding Journalist เลือกที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ
                    

           โดยเน้นการจับความรู้สึก หรือสัมผัสที่ดีในวินาทีนั้นรวมถึงเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นองค์ประกอบของความทรงจำที่สมบูรณ์ มากกว่าที่จะเป็นการจับบ่าวสาว และแขกเรียงแถวเพื่อถ่ายภาพ Wedding Journalist ทำให้ผู้ชมภาพ รู้สึกเหมือนมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และเจ้าของภาพ สามารถจดจำวันเวลาอันสำคัญได้อย่างแจ่มชัด
http://guideubon.com/news/view.php?t=81&s_id=86&d_id=85



เลือกเมนูที่มีสีสัน ช่วยให้ภาพน่าสนใจ อย่างเช่นแทนที่จะสั่งน้ำเปล่าก็ลองสั่งน้ำแดง น้ำปั่นสีสดใส จะทำให้ภาพเราดูน่าสนใจมากขึ้น เค้กไม่สั่งเค้กที่มีสีขาวเพราะถ้าถ่ายออกมากจะซีดไปพร้อมๆกับสีจาน ก็ลองสั่งเค้กส้มสีสันสดใสมากถ่ายแทน
http://www.chillpainai.com/
วันนี้แอดมินขอเอาใจคนที่ชอบไปดูคอนเสิร์ต แล้วอยากเก็บภาพสวยๆ นะคะ

เรามาดูกันเลยว่าการถ่ายภาพคอนเสิร์ตต้องเตรียมอะไรยังไง




อุปกรณ์ ควรใช้อุปกรณ์แบบไหน?
          เลนส์ที่ "รูรับแสงกว้างที่สุด" เท่าที่มี จะทำให้สะดวกมากคะ และไม่ต้องดัน ISO มากนัก ยิ่งถ้าได้เลนส์คุณภาพดีๆ crop 100% แล้วยังคมใช้ได้จะถือว่าดีมากๆ เลย

ทางยาวโฟกัสเท่าไร?
          ก็แล้วแต่สะดวก ยาวหน่อยก็ดี แต่บางทีใช้ Tele อันยาวๆ ก็อาจจะไม่ค่อย work เพราะคนเยอะ แถมเต้นกันอีกด้วย อาจจะไปเขกหัวคนข้างหน้าได้ ไม่สะดวกเวลาใช้งานเลยคะ

ใช้โหมดอะไรถ่าย?
-           เราใช้โหมด M เพราะมีค่าที่ต้องการอยู่แล้ว
-           ถ่ายเป็น RAW เผื่อพลาด ถ่ายแสง over หรือ under ไปที่ส่วนไหน สามารถดึงกลับมาได้ (ได้มากกว่า jpg)
-           เวลาถ่ายเปิด LiveView ถ่าย โหมดโฟกัสก็ใช้ Quick Mode ครับ

ใช้แฟลชไหม?
          ไม่ต้องใช้ เพราะไฟบนเวทีสว่างมากพออยู่แล้ว และมันเป็นแสงสีที่เค้าออกแบบมาแล้ว เราไม่ควรจะไปลบแสงสีเหล่านั้นออกไป และที่สำคัญการยิงแฟลชเป็นการรบกวนศิลปินอย่างมากครับ ดังนั้น ห้ามยิงแฟลช

ปรับค่า F อย่างไร?

          รูรับแสงกว้างได้สุดเท่าไร ปรับกว้างสุดไปเลยครับ (เปิดค่า F น้อยที่สุด)


>> เรื่องราวเทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ตยังไม่จบนะคะ มาติดตามในพาร์ทต่อไปนะคะ <<

Credit : http://www.ilovetogo.com/

วันนี้แอดมินขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดที่ฮิตมากจริงๆ 



แต่ปัญหาหลักๆ ของการถ่ายภาพกระโดดคือ   ตากล้องกดชัตเตอร์ไม่ทัน!!   แค่ปัญหานี้ปัญหาเดียวก็ทำให้ถ่ายกันไม่สำเร็จ  ดังนั้น เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดกันดีกว่า

1. การตั้งกล้อง จะต้องตั้งให้ติดพื้นที่สุด เพื่อที่จะได้เห็นแบบกระโดดสูง (ทั้งที่จริงๆอาจจะกระโดดได้ไม่สูง) เพราะเห็นระยะห่างระหว่างเท้ากับพื้น
2. ปรับโหมด TV ใช้ Speed Shutter ประมาณ 1/400
3. เปิดจอ View Finder เพื่อความง่ายต่อการจัดองค์ประกอบ โฟกัสที่หน้าของแบบ จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบโดยอย่าลืมว่าต้องเว้นระยะของส่วนหัวเอาไว้มากหน่อย เพราะเราจะจับภาพตอนตัวแบบกระโดดสูงสุด
4. การกดชัตเตอร์ จะกดหลังจากเรานับ 3 เสร็จแล้วแบบกำลังย่อตัว... เน้นว่ากดชัตเตอร์ตอนแบบกำลังย่อตัวนะ! 
อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่กดตอนแบบกระโดดสูงสุด เหตุที่กดตอนย่อตัวนั้น เพราะเมื่อเราคิดว่าจะกด มือเรายังไม่ได้กดตอนนั้นนะ แต่เราจะกดชัตเตอร์ Delay ออกไปนิดหน่อย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับแบบที่กระโดดอยู่ในจุดสูงสุดพอดี



Credit : http://www.ilovetogo.com/
วันนี้แอดมินขอนำเสนอ การถ่าภาพกลางแจ้งนะคะ 

เป็นการถ่ายภาพที่เราใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน มาติดตามกันเลย ....



          การถ่ายภาพกลางแจ้ง หมายถึง การถ่ายภาพโดยใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์มีหลักการให้แสงดังนี้
  1. ช่วงเวลาที่เหมาะของแสงในการถ่ายภาพ คือ ก่อน 4 โมงเช้า และหลัง 4 โมงเย็น เพราะจะให้แสงที่นิ่มนวล อย่างไรก็ตามใช้ช่วงเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึง 4 โมงเช้า และก่อนอาทิตย์ตก 2 ชั่วโมงก็ได้ จะทำให้ได้ภาพที่มีอุณหภูมิสีของแสงใกล้เคียงกัน ไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง
  2. หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพช่วงกลางวันหรือ ที่มีแสงแดดจ้า เพราะจะ ทำให้เงาแข็งกระด้าง มีเงาตกลงบนเบ้าตา ตลอดจนทำให้ตาหรี่ไม่สวยงาม ถ้าจำเป็นควรใช้แผ่นสะท้อนแสง และไฟแฟลชช่วย หรือถ่ายภาพใต้ร่วมเงาของต้นไม้ หรือตึกก็ได้
  3. ถ้าถ่ายภาพบุคคล ควรให้แสงเข้าด้านข้าง 45 องศา ไม่ควรให้ เข้าด้านหน้าตรง ๆ เพราะจะทำให้ได้ภาพที่ไม่มีมิติ
  4. บางครั้งอาจถ่ายภาพย้อนแสง เพื่อให้ได้อารมณ์ที่แปลกออกไปได้
  5. หากถ่ายภาพหลังจากฝนหยุดตกสักพักหนึ่ง ก็จะได้ภาพที่น่าสนใจ มีชีวิตชีวาอีกแบบหนึ่งได้


Credit : www.banjomyut.com