Background
พาร์ทสุดท้ายแล้วนะคะ สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ต

พาร์ทนี้ขอนำเสนอ เกร็ดความรู้ในการถ่ายภาพนะคะ



Top Tip 1
          ระหว่างการถ่าย ถ้าเวทีเปิดสปอตไลท์แรงขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องไปปรับ ISO ลง ให้เพิ่ม speed shutter แทน เพราะอะไร?
เพราะปุ่มปรับ ISO มันกดยากกว่า speed shutter (Canon) ในความเห็นส่วนตัวของเรานะ เพราะต้องกดปุ่ม ISO แล้วไปหมุนปุ่มล้อหมุนที่นิ้วชี้ แต่ปรับ speed shutter แค่หมุนปุ่มล้อหมุนที่นิ้วชี้อย่างเดียว เร็วกว่ากันเยอะ เราจะได้ไม่เสียโอกาส moment สำคัญๆไปเพราะเอาแต่ปรับค่าอยู่ (อันนี้แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมันนะครับ)

Top Tip 2 ถ่ายมาลงเว็บหรือลง facebook ใช่ไหม?
          เวลาอยู่ในคอนเสิร์ตมันจะขยับไปไหนไม่ได้ถูกไหม คือพูดง่ายๆว่าท่านไม่สามารถวิ่งไปวิ่งมาเพื่อถ่ายรูปหามุมได้อย่างอิสระ ยังไงก็ต้องปักหลักถ่ายที่เดิมไปเรื่อยๆ ถ้าใครมีเลนส์ซูม ก็ซูมเข้าซูมออก
          ถ้าใครมีเลนส์ Fix ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็มันถ่ายได้แค่นั้นอยู่แล้วครับ วันที่เราไปเราใช้เลนส์ fix เหมือนกัน ใช้ 85mm ก็ยืนปักหลักถ่ายไปเรื่อยๆ แล้วเอาภาพมา crop ทีหลัง (ก็เอามาลงเว็บอะ มันไม่ได้ต้องการภาพใหญ่อะไรอยู่แล้วหนิ แค่ถ่ายอย่าให้เบลอก็โอเคแล้ว)



ตอนเราถ่าย เรารอจังหวะอยู่ 2 อย่าง
1. emo ของนักร้องหรือนักแสดง ต้องเป็น emo ที่มันดูพิเศษๆหน่อย ไม่ใช่ยืนร้องเฉยๆ ทำตาปรือๆ แบบนั้นเราไม่กดมาให้เสียจังหวะหรอก เราจะรอจังหวะที่มันได้ emo พิเศษๆถึงค่อยกด
2. แสงสปอตไลท์  ที่ส่องไปส่องมา หรือเปิดสีสันต่างๆ ถ้าได้แสงสวยๆ สีน่าสนใจ ก็กดไปเลย

สุดท้าย ถ้าโชคดี ได้ทั้ง emo ทั้งแสงสวยๆ ภาพคุณจะออกมาดีเลยหละ


credit : http://www.ilovetogo.com/
มาต่อกันเลยคะ กับเทคนิคการรถ่ายภาพคอนเสิร์ต 


ปรับ speed shutter เท่าไร?
-           เริ่มต้นจาก final image ที่เราอยากได้ก่อน ถ้าเราต้องการหยุดนักร้องให้ได้เป๊ะๆ ก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 1/250
-           แต่ถ้าเราอยากจะเก็บ movement ของนักร้องเวลาของขึ้น ก็ต้องใช้ speed ช้าๆ หน่อย อาจจะ 1/100 หรือต่ำกว่านั้นนิดหน่อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโยกของนักร้อง แต่อย่าให้ speed shutter ต่ำกว่าทางยาวโฟกัสนะครับ ไม่งั้นได้มีเบลอกันทั้งภาพ
-           ยกเว้นแต่เลนส์มีกันสั่น อันนี้ก็คำนวนกันเองนะ ว่าจะใช้ speed shutter ช้าประมาณไหนที่เราถือได้ แล้วเห็น movement ของนักร้องเวลาโยกหัว
-           งานนี้เราอยากได้ภาพคมชัด หยุดการเคลื่อนไหว เราเลยปรับ speed shutter 1/250 ขึ้นไป

ISO นี่ต้องดันกันเยอะไหมเนี่ย มืดๆ แบบนี้
          ไม่ต้องเลย ปกติก็ดันที่ประมาณ 1600 - 3200 เท่านั้น ไม่ต้องดันไปถึง 6400 หรอกครับ ไม่จำเป็นเลย แสงบนเวทีสว่างมากๆ อยู่แล้ว ส่วนจะดันเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับ ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่คุณปรับ และ fix ค่า speed shutter ไว้เท่าไร (วันนั้นติดเลนส์ F1.2 เข้าไป ใช้ speed 1/250 เลยดัน ISO แค่ 800)

ทำไมต้องถ่ายด้วย LiveView?
-           เพราะเราจะได้วัดแสงกันด้วยตาผ่าน LCD เลย เราดูง่ายๆ ว่าแสงมันสว่างไปไหม ดูแค่ที่หน้านักร้อง ให้แสงพอดีที่หน้านักร้องหรือคนที่เราจะถ่ายก็พอแล้วครับ
-           ใช้ LiveView วัดแสง มันง่ายกว่าวัดผ่าน ViewFinder เยอะ เพราะเราเห็นภาพที่จะได้เดี๋ยวนั้นเลย แถมการถ่ายด้วย LiveView ยังทำให้ง่ายต่อการยกกล้องให้พ้นหัวแฟนๆด้านหน้าๆด้วย

White Balance?

          เราตั้งเป็น Auto แล้วถ่ายเป็น RAW (เผื่อเอามาปรับแก้ไขด้วย Camera RAW) เพราะไม่มีเวลามานั่งดูโน่นนี่นั่น ปล่อยให้กล้องช่วยเราบ้าง Moment ดีๆ โดนๆ มาเร็วไปเร็ว


ยังไม่จบนะคะ เดี๋ยวแอดมินมาต่อ เทคนิคเกล็ดความรู้ในการถ่ายคอนเสิร์ตนะคะ 

อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ



credit : http://www.ilovetogo.com/



ช่างภาพในแบบ Wedding Journalist เลือกที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ
                    

           โดยเน้นการจับความรู้สึก หรือสัมผัสที่ดีในวินาทีนั้นรวมถึงเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นองค์ประกอบของความทรงจำที่สมบูรณ์ มากกว่าที่จะเป็นการจับบ่าวสาว และแขกเรียงแถวเพื่อถ่ายภาพ Wedding Journalist ทำให้ผู้ชมภาพ รู้สึกเหมือนมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และเจ้าของภาพ สามารถจดจำวันเวลาอันสำคัญได้อย่างแจ่มชัด
http://guideubon.com/news/view.php?t=81&s_id=86&d_id=85



เลือกเมนูที่มีสีสัน ช่วยให้ภาพน่าสนใจ อย่างเช่นแทนที่จะสั่งน้ำเปล่าก็ลองสั่งน้ำแดง น้ำปั่นสีสดใส จะทำให้ภาพเราดูน่าสนใจมากขึ้น เค้กไม่สั่งเค้กที่มีสีขาวเพราะถ้าถ่ายออกมากจะซีดไปพร้อมๆกับสีจาน ก็ลองสั่งเค้กส้มสีสันสดใสมากถ่ายแทน
http://www.chillpainai.com/
วันนี้แอดมินขอเอาใจคนที่ชอบไปดูคอนเสิร์ต แล้วอยากเก็บภาพสวยๆ นะคะ

เรามาดูกันเลยว่าการถ่ายภาพคอนเสิร์ตต้องเตรียมอะไรยังไง




อุปกรณ์ ควรใช้อุปกรณ์แบบไหน?
          เลนส์ที่ "รูรับแสงกว้างที่สุด" เท่าที่มี จะทำให้สะดวกมากคะ และไม่ต้องดัน ISO มากนัก ยิ่งถ้าได้เลนส์คุณภาพดีๆ crop 100% แล้วยังคมใช้ได้จะถือว่าดีมากๆ เลย

ทางยาวโฟกัสเท่าไร?
          ก็แล้วแต่สะดวก ยาวหน่อยก็ดี แต่บางทีใช้ Tele อันยาวๆ ก็อาจจะไม่ค่อย work เพราะคนเยอะ แถมเต้นกันอีกด้วย อาจจะไปเขกหัวคนข้างหน้าได้ ไม่สะดวกเวลาใช้งานเลยคะ

ใช้โหมดอะไรถ่าย?
-           เราใช้โหมด M เพราะมีค่าที่ต้องการอยู่แล้ว
-           ถ่ายเป็น RAW เผื่อพลาด ถ่ายแสง over หรือ under ไปที่ส่วนไหน สามารถดึงกลับมาได้ (ได้มากกว่า jpg)
-           เวลาถ่ายเปิด LiveView ถ่าย โหมดโฟกัสก็ใช้ Quick Mode ครับ

ใช้แฟลชไหม?
          ไม่ต้องใช้ เพราะไฟบนเวทีสว่างมากพออยู่แล้ว และมันเป็นแสงสีที่เค้าออกแบบมาแล้ว เราไม่ควรจะไปลบแสงสีเหล่านั้นออกไป และที่สำคัญการยิงแฟลชเป็นการรบกวนศิลปินอย่างมากครับ ดังนั้น ห้ามยิงแฟลช

ปรับค่า F อย่างไร?

          รูรับแสงกว้างได้สุดเท่าไร ปรับกว้างสุดไปเลยครับ (เปิดค่า F น้อยที่สุด)


>> เรื่องราวเทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ตยังไม่จบนะคะ มาติดตามในพาร์ทต่อไปนะคะ <<

Credit : http://www.ilovetogo.com/

วันนี้แอดมินขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดที่ฮิตมากจริงๆ 



แต่ปัญหาหลักๆ ของการถ่ายภาพกระโดดคือ   ตากล้องกดชัตเตอร์ไม่ทัน!!   แค่ปัญหานี้ปัญหาเดียวก็ทำให้ถ่ายกันไม่สำเร็จ  ดังนั้น เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดกันดีกว่า

1. การตั้งกล้อง จะต้องตั้งให้ติดพื้นที่สุด เพื่อที่จะได้เห็นแบบกระโดดสูง (ทั้งที่จริงๆอาจจะกระโดดได้ไม่สูง) เพราะเห็นระยะห่างระหว่างเท้ากับพื้น
2. ปรับโหมด TV ใช้ Speed Shutter ประมาณ 1/400
3. เปิดจอ View Finder เพื่อความง่ายต่อการจัดองค์ประกอบ โฟกัสที่หน้าของแบบ จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบโดยอย่าลืมว่าต้องเว้นระยะของส่วนหัวเอาไว้มากหน่อย เพราะเราจะจับภาพตอนตัวแบบกระโดดสูงสุด
4. การกดชัตเตอร์ จะกดหลังจากเรานับ 3 เสร็จแล้วแบบกำลังย่อตัว... เน้นว่ากดชัตเตอร์ตอนแบบกำลังย่อตัวนะ! 
อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่กดตอนแบบกระโดดสูงสุด เหตุที่กดตอนย่อตัวนั้น เพราะเมื่อเราคิดว่าจะกด มือเรายังไม่ได้กดตอนนั้นนะ แต่เราจะกดชัตเตอร์ Delay ออกไปนิดหน่อย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับแบบที่กระโดดอยู่ในจุดสูงสุดพอดี



Credit : http://www.ilovetogo.com/
วันนี้แอดมินขอนำเสนอ การถ่าภาพกลางแจ้งนะคะ 

เป็นการถ่ายภาพที่เราใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน มาติดตามกันเลย ....



          การถ่ายภาพกลางแจ้ง หมายถึง การถ่ายภาพโดยใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์มีหลักการให้แสงดังนี้
  1. ช่วงเวลาที่เหมาะของแสงในการถ่ายภาพ คือ ก่อน 4 โมงเช้า และหลัง 4 โมงเย็น เพราะจะให้แสงที่นิ่มนวล อย่างไรก็ตามใช้ช่วงเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึง 4 โมงเช้า และก่อนอาทิตย์ตก 2 ชั่วโมงก็ได้ จะทำให้ได้ภาพที่มีอุณหภูมิสีของแสงใกล้เคียงกัน ไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง
  2. หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพช่วงกลางวันหรือ ที่มีแสงแดดจ้า เพราะจะ ทำให้เงาแข็งกระด้าง มีเงาตกลงบนเบ้าตา ตลอดจนทำให้ตาหรี่ไม่สวยงาม ถ้าจำเป็นควรใช้แผ่นสะท้อนแสง และไฟแฟลชช่วย หรือถ่ายภาพใต้ร่วมเงาของต้นไม้ หรือตึกก็ได้
  3. ถ้าถ่ายภาพบุคคล ควรให้แสงเข้าด้านข้าง 45 องศา ไม่ควรให้ เข้าด้านหน้าตรง ๆ เพราะจะทำให้ได้ภาพที่ไม่มีมิติ
  4. บางครั้งอาจถ่ายภาพย้อนแสง เพื่อให้ได้อารมณ์ที่แปลกออกไปได้
  5. หากถ่ายภาพหลังจากฝนหยุดตกสักพักหนึ่ง ก็จะได้ภาพที่น่าสนใจ มีชีวิตชีวาอีกแบบหนึ่งได้


Credit : www.banjomyut.com
วันนี้แอดมินขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพของกล้องดิจิตอลนะคะ 


จะว่าด้วยเรื่องของ  การถ่ายภาพบุคคล (Portrait) นั่นเองค่ะ



           จะว่าไปแล้วแทบทุกคนที่ซื้อกล้องต้องเคยถ่ายรูปคนมาแล้วแน่ ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวทั้งผู้ถ่าย และผู้ถูกถ่าย แต่ว่าตอนถ่ายอาจจะสนุกดีอยู่หรอก พอหลังจากถ่ายเสร็จแล้วกลับมาดูรูป ถ้าคุณถ่ายนางแบบแสนสวยแต่ในภาพกลับดำบ้างขาวบ้างก็คงไม่สนุกแน่ ดังนั้นวันนี้แอดมินมีเทคนิคการถ่ายภาพคนสวย ๆ มาให้ได้ติดตามกัน

          การถ่ายภาพบุคคล จุดประสงค์หลักๆ ก็คือต้องการถ่ายทอดอารมณ์ และกิริยาท่าทางของคนๆ นั้น ดังนั้นจึงต้องถ่ายให้คนเด่นๆ เข้าไว้ก่อน  การถ่ายภาพบุคคลนิยมใช้เทคนิคที่เรียกว่าชัดตื้นหมายถึง ภาพมีฉากหลังเบลอ และตัวแบบชัดซึ่งเทคนิคนี้เวลาถ่ายภาพจะใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุดเท่าที่เลนส์จะทำได้ประมาณ F 2.4 แล้วพยายามปรับทางยาวโฟกัสให้มากๆ โดยซูมเลนส์ไปที่ 2-3 เท่าของเลนส์ ประมาณ 80-120 มม. (เทียบเท่าเลนส์กล้องฟิล์ม 35 มม.) จะทำให้ได้ภาพที่ตัวแบบดูเด่นออกมาจาก
ฉากหลัง ซึ่งโหมดการถ่ายภาพที่นิยมใช้กับกล้องดิจิตอลถ้าเป็นโหมดอัตโนมัติก็จะเป็นโหมดภาพถ่ายบุคคล (Portrait) ถ้าเป็นโหมดกึ่งอัตโนมัติที่มืออาชีพชอบใช้ก็จะเป็นโหมดควบคุมรูรับแสง (A Mode)
          
          ข้อควรระวังคือ อย่าใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายแบบในระยะประชิดมาก เพราะจะทำให้ตัวแบบหน้าตา บิดเบี้ยวจากเลนส์ที่เกิดอาการ Distortion เป็นอาการผิดสัดส่วนจากความเป็นจริง เช่น หน้าตายาว ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับเลนส์ของกล้องด้วยว่ามี Distortion มากน้อยแค่ไหนทั้งหมดนี้เป็นเพียงพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ สำหรับมือใหม่ถ้าจะถ่ายรูปคนให้สวยต้องหมั่นฝึกฝนถ่ายรูปบ่อย ๆ นะคะ


Credit บทความ : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-56/2-50(500)/page1-2-50(500).html

Credit รูป : https://www.facebook.com/OneshotByBPNK  โพสโดย : GuNever Change
  ในช่วงวันหยุดหลายครอบครัวคงต้องการพาบุตรหลานไปเที่ยวพักผ่อน สถานที่ยอดนิยมของบุตรหลานน่าจะเป็นสวนสัตว์เนื่องจากทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จะมีกิจกรรมที่ได้สนุกร่วมกันเรียนรู้ธรรมชาตินานาพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย ไหนๆ ก็ไปเที่ยวสวนสัตว์ทั้งทีต้องถ่ายภาพเก็บไว้ ขอแนะนำเทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายภาพสวนสัตว์ให้ดูสวยงามน่าสนใจ

1. เลือกเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส สูงสักหน่อย เช่น 80-200 mm. หรือ 70-120 mm. หรือมากกว่าถ้ามี หากเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวเช่น 135 mm. หรือ 200 mm. ยิ่งดี เพราะว่าสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ต้องอยู่ในกรง เราต้องถ่ายภาพผ่านกรงจึงไม่อาจเข้าใกล้ได้ แน่นอนคุณคงไม่อยากเดินเข้าไปถ่ายเสือ ในกรงแน่ๆ
2. เปิดหน้ากล้องให้กว้าง เมื่อถ่ายผ่านกรงหรือตาข่าย สิ่งนี้เองช่วยให้สิ่งที่เป็นฉากหน้า ในภาพเบลอหรือหลุดออกจากโฟกัสไปเลยเลนส์ที่ราคาสูงมีหน้ากล้องกว้าง F/ 2.8 พวกนี้จะใช้ได้สมราคาก็ตอนนี้แหละครับ
3. หลีกเลี่ยงฉากหลังที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กรง ตาข่าย เสาต่างๆ ควรมองหามุมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อความกลมกลืน หรือเราโม้กับเพื่อนได้ว่าไปถ่ายกระทิงมาจากเขาใหญ่ ใช้เวลาซุ่มรออยู่เกือบอาทิตย์ อะไรก็ว่าไป (ถ้าไม่อายนะ!!)
4. ใช้แฟลชเปิดเงา ส่วนมากสัตว์ในสวนสัตว์จะอยู่ในร่มเพราะต้นไม้รอบๆ บริเวณสวนสัตว์มักเป็นไม้ใหญ่มีร่มเงา การใช้แฟลชจะช่วยให้มีรายละเอียดของสีผิว
และแน่นอนประกายที่ดวงตาช่วยทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้น สัตว์บางประเภทที่มีสีสันสดใส เช่น นกแก้ว เมื่อเปิดแสงแฟลชช่วยสีสันจะออกมาอิ่ม แต่ควรชดเชยแฟลชให้อันเดอร์เล็กน้อย เพื่อความเป็นธรรมชาติให้ใช้แสงธรรมชาติ เป็นหลัก แฟลชเป็นเพียงแสงเสริมเท่านั้น
http://travel.sanook.com/767373/10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C/




เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลใต้น้ำ 3 ประการ
   
หลายๆคนคงชื่นชอบการดำน้ำใต้ท้องทะเล ซึ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนได้อยู่ในโลกอีกโลกหนึ่งซึ่งสวยงามมากๆ และก็คงไม่แปลกที่เราอยากจะเก็บภาพและเวลาดีๆเหล่านั้น โดยการถ่ายภาพเก็บมาไว้เชยชมเป็นที่ระลึก นักดำน้ำสน๊อคเกอร์ หรือสกูบ้า หลายๆคนคงอยากจะรู้ว่าจะมีเทคนิคในการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลใต้น้ำยังไง เพื่อให้ได้ภาพที่สวย คมชัด ถูกใจ แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเลยคือ คุณต้องแน่ใจด้วยว่ากล้องของคุณนั้นเป็นกล้องที่กันน้ำได้หรือมีเคสสำหรับกันน้ำสำหรับกล้องนะจ๊ะ..ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า...

1.การใช้แฟรช  ในบริเวณใต้น้ำนั้น แสงแดดจะถูกกรองด้วยคลื่นซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำด้วย คุณแทบจะไม่ได้เห็นแสงสีแดงเลย เพราะว่า คลื่นแสงนั้นจะถูกกรองในระยะ 2 นิ้ว ลึกลงมาใต้ผิวน้ำ และถัดไปก็จะเป็นแสงสีส้ม ,เหลือง ,เขียว และสุดท้ายคือ สีน้ำเงิน หากคุณไม่ใช้แฟลช สีสันของภาพที่คุณถ่ายใต้ผิวน้ำจะถูกบันทึกเป็นสีน้ำเงินทั้งหมด คุณควรที่จะใช้แฟลชช่วยด้วยและเข้าไปให้ใกล้วัตถุที่คุณจะถ่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่มีสีสัน สดใสและแม่นยำ
2.การตั้งค่าไปที่โหมด macro setting ของกล้อง  ตั้งค่ากล้องของคุณไปที่โหมด macro ที่ส่วนมากจะมีอยู่ในกล้องดิจิตอลเกือบทุกรุ่น ซึ่งในโหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถซุมภาพหรือวัตถุได้ในระยะที่ใกล้ขึ้น และให้ได้ภาพที่เผยให้เห็นอีกด้านหนึ่งของชีวิตใต้ท้องทะเลที่ต่างออกไป ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจจะเล็กจนเกินไปที่ตาเปล่าจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน  และการหักเหของแสงซึ่งจะทำให้วัตถุที่เรามองเห็นใต้น้ำนั้นใหญ่กว่าปกติถึง 25เปอร์เซ็น เพียงแค่คุณใช้โหมดที่ว่านี้คุณก็ไม่ต้องเป็นห่วงเลยว่า จะไม่ได้เก็บภาพสวยๆของสิ่งชีวิตใต้ท้องทะเล อย่างเช่น เจ้าปลาการ์ตูน แน่นอน.. 
3.ดำน้ำให้ฉ่ำอุราไปกับพ้องเพื่อน เวลาคุณดำน้ำ ส่วนมากเราก็จะไปกันเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัย แต่อย่างน้อยต้องมีบัดดี้ไว้คอยเป็นเพื่อนไว้สักคนนึงเสมอ เพื่อที่จะได้เอามันไว้เป็นทาสช่วยเราในการถ่ายภาพด้วยไงล่ะ การถ่ายภาพใต้ผิวน้ำนั้นจะต้องใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก ในเมื่อเรามีเพื่อนแล้วก็ใช้มันให้เป็นประโยชน์ โดยให้มันถือไฟให้นั่นเอง

      การทดลองและประสบการณ์จะช่วยให้คุณรู้ถึงเทคนิคในการถ่ายภาพมากขึ้น แต่การถ่ายรูปใต้น้ำนั้นก็ต้องระมัดระวังและคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้น้ำด้วย..ไม่ว่าจะเป็นปลา หรือปะการังต่างๆ เราจะได้มีทรัพยากรที่สวยงามเหล่านี้เอาไว้ได้เชยชมกันนานๆ ไม่ใช่แค่เห็นเฉพาะแต่ในรูปถ่ายยังไงล่ะครับ
http://www.ilovekohmak.com/


ด้วยความโชคดีที่ผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปใต้น้ำและนักดำน้ำรุ่นใหม่ๆได้เรียนรู้วิธีที่จะถ่ายภาพใต้น้ำให้ออกมามีสีสันโดยไม่ต้องใช้ strobe 
  
  กล้องดิจิตอลสมัยใหม่มักมี mode White balance เพื่อใช้ในการหาว่าสีไหนที่จะบันทึกลงในภาพที่เราจะถ่าย ถ้าไม่มีจุดอ้างอิงว่าอะไรคือสีขาวและอยู่ตรงไหนเนี่ย กล้องถ่ายภาพก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าจะแสดงสีอื่นๆออกมาในภาพถ่ายได้อย่างไร 
 
   ยิ่งกล้องรุ่นที่มีคุณลักษณะพิเศษมากมาก มักจะมี mode white balance เป็น option แบบ manual ให้เลือกใช้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้คุณสามารถบอกกล้องได้ด้วยตนเองว่าอะไรคือสีขาวโดยปกติมักใช้แค่การกดปุ่มปุ่มเดียวบนกล้องเท่านั้น 
  
  สำหรับกล้องทั่วๆไปการที่จะถ่ายให้ได้ภาพที่มีสีสันใต้น้ำได้ตัวกล้องจะต้อง จับแสงสีแดงและสีเหลืองได้ด้วย ซึ่งเมื่อลงไปที่ความลึกสิ่งที่เราต้องการจะถ่ายจะไม่แสดงสีสันเพียงพอและสี ที่ถูกต้องที่จะให้กล้องบันทึกเอาไว้ได้ วิธีการต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำmagenta
1.ใส่ filter สีแดงหรือ สี magenta ครอบเลนส์ของกล้องเอาไว้ filter จะเป็นตัวป้องกันแสงสีเขียวและสีน้ำเงิน และยอมให้กล้องบันทึกแสงสีแดงและแสงสีเหลืองได้มากกว่าปกติ 

  2.เมื่อครอบเลนส์ด้วย filter เรียบร้อยแล้ว ให้หันกล้องไปที่ฉากที่เรารู้ว่ามันเป็นสีขาว เช่นทราย หรือ slate สีขาวก็ได้ และset manual white balance 
step
  3.จากนั้นก็ถ่ายรูปได้เลย ให้ทำซ้ำ step 1 และ step 2 ถ้าเปลี่ยนระดับความลึกมากมากเพราะว่าสีของแสงจะเปลี่ยนเมื่อดำน้ำลึกขึ้น 
 ด้วย filter และ manual white balance mode ทำให้กล้องดิจิตอลสามารถที่จะผลิตรูปถ่ายที่มีความสว่างและมีสีสันได้เนื่อง เพราะว่าfilter ได้ไป ป้องกันแสงบางแสงไม่ให้มีบทบาท

แต่เทคนิคนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อคุณถ่ายภาพในวันที่แดดออกจ้า สำหรับวันที่แดดอาจจะหุบให้ตั้งค่าIOS สูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อชดเชย
 http://www.ilovekohmak.com/
เก็บมาแต่ภาพถ่าย ทิ้งไว้เพียงความทรงจำ  แล้วเราจะเก็บภาพถ่ายมาได้ยังไงถ้าเราไม่รู้จักวิธีการถ่ายภาพใต้น้ำ เรามาเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพใต้น้ำแบบงูๆ ปลาๆ กันดีกว่าครับ เมื่อเราลงไปท่องโลกใต้ทะเลจะได้ถ่ายภาพความสวยงามจากใต้ท้องทะเลลึกมาอวดเพื่อนฝูงหรือเก็บไว้ชื่นชมเองเมื่อยามคิดถึงทะเล การถ่ายภาพใต้น้ำไม่ง่ายเหมือนอย่างการถ่ายภาพบนบกเพราะการถ่ายภาพใต้น้ำมีตัวแปรที่มีผลต่อภาพหลายอย่างทั้งเรื่องแสงและสีของภาพ ความใสของน้ำ การพยุงตัวของช่างภาพ ไม่ใช่ว่าจะเล็งภาพกันได้ง่ายๆ เหมือนการถ่ายภาพบนบก อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องกันน้ำใต้ซึ่งมีราคาแพง แฟลชและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ล้วนเป็นอุปกรณ์พิเศษ เรามาเรียนรู้กันเลยครับ

ถ่ายภาพใต้น้ำจะใช้กล้องอะไรดี?
การถ่ายภาพสำหรับการดำแบบผิวน้ำ ใช้กล้องอะไรถ่ายก็ได้ครับ กล้องดิจิตอล หรือ กล้องฟิล์มแบบคอมแพค  ( ที่มักเรียกกันว่ากล้องปัญญาอ่อน )  ก็ได้ หรือจะใช้กล้อง SLR แบบเปลี่ยนเลนส์ได้ก็ได้ครับ เพียงแต่เราต้องซื้อถุงพลาสติกใสกันน้ำมาใส่ ถุงเป็นถุงพิเศษไม่ใช่ถุงใสที่ใช้ใส่ผักนะครับ ถุงกันน้ำสำหรับกล้องจะหนาและเหนียว และที่สำคัญคือจะต้องมีระบบการปิดปากถุงที่กันน้ำรั่วซึมได้ดี ราคาถุงก็ไม่แพงประมาณสัก 150 บาท คุณภาพของภาพที่ได้ก็พอใช้ได้  แต่ถ้าต้องการได้ภาพที่มีคุณภาพก็ต้องใช้อุปกรณ์เหมือนกับการถ่ายภาพแบบดำน้ำลึก
http://www.nemotour.com/knowledge/uw_photo.htm




ภาพชุดนี้เป็นภาพถ่ายที่ช่องแคบ Lembeh อยู่ที่ทางตอนเหนือของเกาะ Sulawesi ประเทศอินโดนิเซีย  โดยช่างภาพนามว่า Jason Bradley เกาะ Sulawesi เป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์มาก เพราะตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปะการังของอินโดนิเซีย ที่อุดมไปด้วยปะการังกว่า 600 ชนิดและปลาอีกกว่า 2000 ชนิด

โดย Bradley  ได้รับเชิญไปยังงานสัมมนาเรื่องการถ่ายภาพที่ Lembah เขาก็เลยถือโอกาสลงไปดำน้ำถ่ายรูปเพราะที่นี่เป็นสถานที่ที่สวยมาก ซึ่งรูปที่เขาถ่ายมานั้นก็จะเน้นไปที่ภาพของสัตว์น้ำใต้ทะเลลึกหลากหลายชนิด เรียกได้ว่าสามารถถ่ายทอดภาพของสัตว์น้ำออกมาเสมือนกับเป็นเครื่องประดับชิ้นงามแห่งท้องทะเลเลยทีเดียว  เชิญชมกันได้เลยครับ
http://www.thaicameraupdate.com/2013/12/24/diamonds-in-the-muck/


        ก่อนจะลงดำน้ำ นักดำน้ำควรศึกษา และหัดสังเกตุพฤติกรรมของสัตว์ใต้ท้องทะเลก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการดำน้ำ และถ่ายภาพใต้น้ำ เนื่องจากสัตว์บางชนิดมีอันตรายที่เราไม่รู้ซ่อนอยู่ การเข้าใกล้มากเกินไปจะทำให้นักดำน้ำได้รับอุบัติเหตุด้วย
        การถ่ายภาพใต้น้ำควรเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายให้มากที่สุด (Closer to Closer) แต่การเข้าใกล้มากเกินไปอาจจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล หรืออาจก่อให้เกิดกับอันตรายต่อนักดำน้ำด้วย
        การถ่ายภาพควรใช้มุมมองภาพระดับสายตา หรือมอง 30องศาลงไป
        การโฟกัสภาพ ควรเลือกโฟกัสที่สายตาไว้ก่อน ตัวไม่ชัดไม่เป็นไร ขอให้ดวงตาชัดไว้ก่อน
        การถ่ายภาพใต้น้ำต้องใช้ความอดทนสูง บางทีการถ่ายภาพในแต่ละช็อตอาจใช้เวลาในการรอจังหวะ 5 - 10 นาที และควรกด
ชัตเตอร์ให้เร็วที่สุดในกรณีที่เจอช็อตที่ถูกใจ บางครั้งถ่ายมาเป็น 10ภาพ อาจมีภาพที่สวยงาม และใช้งานได้เพียงภาพเดียว

http://www.manager.co.th/cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9540000058956
  ในช่วงฤดูกาลแห่งการท่องเที่ยวทะเล เชื่อว่าคงมีหลายคนที่กำลังวางแผนจะเดินทางไปดำน้ำสัมผัสความสวยงามของโลกใต้ทะเลไม่ว่าจะใน หรือนอกประเทศ และทุกคนก็คงต้องการเก็บภาพความสวยงามเหล่านั้นมาอวดเพื่อนๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ร่วมเดินทางด้วย 

       และจะดีกว่าไหมหากนักดำน้ำมีความรู้ หรือเทคนิคการถ่ายภาพใต้น้ำก่อนจะถึงเวลาลงไปดำน้ำจริง เพื่อให้ภาพที่ออกมามีความสวยงาม และสมบูรณ์แบบที่สุด วันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซ ขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพใต้น้ำแบบง่ายๆ จากอาจารย์พรรัก เชาวนโยธิน อาจารย์สอนวิชาการถ่ายภาพสารคดีใต้น้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มาให้ผู้อ่านได้ทดลองปรับใช้งานกัน  


       
       ทำความเข้าใจกับฟิสิกส์เกี่ยวกับน้ำ
       

       เวลาที่เรามองสิ่งของใต้น้ำเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมของที่เรามองมันดูใหญ่ ดูใกล้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ดัชนีการหักเหของแสงในน้ำมีค่ามากกว่าในอากาศ (ประมาณ 1 1/3 เท่า) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เห็นสิ่งของที่อยู่ใต้ทะเลใหญ่กว่านั่นเอง ทดลองดูได้จากการที่เอาดินสอจุ่มในแก้วน้ำเปล่าดู แล้วสังเกตุดูดินสอส่วนที่จมน้ำกับส่วนที่อยู่เหนือน้ำ
       
       น้ำมีความหนาแน่นกว่าอากาศประมาณ 800 เท่าซึ่งเปรียบได้เท่ากับ การถ่ายรูปใต้น้ำ 1 เมตรเหมือนกับการถ่ายรูปบนบกด้วยระยะห่าง 800 เมตร เมื่อแสงผ่านน้ำจะเกิดการสูญเสียสี และคอนทราสต์ เนื่องจากแสงตกกระทบกับอนุภาคเล็กๆ ในน้ำ อีกทั้งอนุภาคและโมเลกุลในน้ำนั้นดูดกลืนแสง ซึ่งสีแดงจะถูกดูดกลืนก่อน ต่อมาจะเป็นสีส้มและเหลืองตามลำดับ


http://www.manager.co.th/cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9540000058956
       
    
        ส่วนใหญ่ถ่ายภาพนกเป็นงานอดิเรก ถือเป็นการผ่อนคลายความเครียดจากหน้าที่การงานและวิถีชีวิตเร่งรีบของสังคม พอถ่ายไปซักระยะก็ซึมซับความงามและความประทับใจจนกระทั่งเกิดความรัก การมีคนถ่ายภาพนกเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเมื่อคนหันมาสนใจนกและธรรมชาติ ก็จะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของนกและธรรมชาติ ขยายผลไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศ

          การดูนก-ค้นหาตัวในธรรมชาติว่ายากแล้ว การบันทึกภาพนกนับว่ายากเย็นยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมีปัจจัยแวดล้อมและข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้การถ่ายภาพนกออกจะ "เขี้ยว" กว่าการถ่ายภาพธรรมชาติ ประเภทอื่น นี่คงเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของนักถ่ายภาพ ภาพที่ถ่ายได้ก็อาจจะเก็บไว้ชื่นชมส่วนตัวหรือนำมาดูกันในกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ์เรื่องราว และภาพของนกเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ ด้วย สำหรับนักวิจัยเกี่ยวกับนกและสัตว์ป่าก็มีความจำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยด้วย


          อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามือโปรหรือมือสมัครเล่น ช่วงเวลาแห่งความสุขที่แท้จริงของการถ่ายภาพนกก็คือ ตอนได้แนบตากับช่องมองภาพแล้วเห็นนกในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแสดงท่วงท่าลีลาต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติพร้อมเสียงลั่นชัตเตอร์ในช่วงจังหวะที่เหมาะเจาะ

http://hilight.kapook.com/view/54217
   สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการถ่ายภาพงานแสดงพลุนั้นจะมาในรูปของการจัดองค์ประกอบภาพแทนที่ จะเป็นเรื่องของการเปิดรับแสง และก็เช่นเคย การวางแผนล่วงหน้าถือเป็นกุญแจสำคัญ ไปถึงสถานที่เสียแต่เนิ่นๆ แล้วให้ลองพูดคุยกับผู้จัดงานโดยสัญญาว่าจะให้ภาพบางภาพฟรีๆ เพื่อแลกกับการที่จะทราบถึงสถานที่และเวลาที่จะมีการจุดพลุ รวมถึงความสูงที่พลุจะแตกออก เลือกหาทำเลในการถ่ายภาพที่อยู่ห่างออกมาซึ่งคุณสามารถจะถ่ายภาพพลุได้จากมุมที่ ‘มีระดับเดียวกัน’ แทนที่จะต้องเล็งกล้องของคุณทำมุมสูงขึ้น ดูให้แน่ใจว่าคุณได้จัดวางขาตั้งกล้องไว้ โดยหลีกเลี่ยงจากแสงไฟตามท้องถนนหรือคนที่จะเดินเข้ามาในภาพ และที่สำคัญที่สุดก็คือคนที่จะเดินเข้ามาหาคุณรวมถึงอุปกรณ์ของคุณด้วย ใส่เลนส์เทเลซูมแบบปานกลางเพื่อช่วยให้ตัวคุณมีปฏิกิริยาตอบสนอง อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนการแสดง

เทคนิคการถ่ายภาพ, การถ่ายภาพ, ภาพวิว, ภาพเคลื่อนไหว, รูปภาพ, ภาพ

จัดให้กล้องของคุณอยู่ในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง และถ่ายภาพต่อไปเมื่อเกิดแอ็คชั่นขึ้น กรณีที่คุณต้องการจะบันทึกภาพแบบนี้ เวลายังเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้ว่าจะเป็นการเปิดรับแสงที่ยาวก็ตาม และอย่ากลัวที่จะต้องตัดส่วนภาพ เพื่อบีบองค์ประกอบภาพในภายหลังด้วย

http://www.nokpatour.com/knowledge/photographing/photo_003-color.php
   ค่ำคืนอันยาวนานไม่จำเป็นต้องทำให้ความเร็วใน การถ่ายภาพของคุณต้องช้าลงไป การมองหาโอกาสทาง การถ่ายภาพยามค่ำคืน ที่มีสีสันสวยงาม จากการประดับตกแต่งดวงไฟหรือ สวนสนุกเคลื่อนที่ที่มีให้เห็นทั่วไปจึงเป็นอีกโอกาสที่เหมาะ ในการเก็บภาพสีสันอันน่าตื่นตาตัดกันกับท้องฟ้าสีมืดมิด 

  หนึ่งในเทคนิคที่ทรงประสิทธิภาพและ คุ้นเคยกันมากที่สุดสำหรับการเก็บบรรยากาศของงานแสดงไฟหรือสวนสนุกก็คือ การผสมผสานกันระหว่างการเปิดรับแสงที่ยาวนานและ การเคลื่อนที่ของตัวแบบเพื่อสร้างแนวของสีแบบแอ็บสแทร็คท์ ให้รวมเอาตัวแบบที่อยู่นิ่งมาไว้ในภาพเดียวกันเพื่อให้เกิดคอนทราสต์และให้ภาพมีความน่าสนใจ โดยธรรมชาติแล้ว คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง (หรือmonopolที่วางไว้อย่างมั่นคง) เพื่อทำให้ภาพซึ่ง ใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำนั้นมีความคมชัดถูกที่ถูกทาง ดูให้แน่ใจว่าคุณได้จัดตำแหน่งให้ขาตั้งกล้องของคุณนั้นออกห่างจากย่านที่จอแจด้วย คนที่เดินผ่านไปผ่านมาสามารถจะชนกล้องของคุณให้ล้มลงไป อย่างง่ายดายในขณะที่ถ่ายรูปอยู่ได้ทุกเมื่อ

http://www.nokpatour.com/knowledge/photographing/photo_003-color.php


 - จัดองค์ประกอบภาพ มุมภาพ ที่เราคิดว่าดีตามระดับความแก่ดีกรีของเรา

-ปรับระบบของกล้องมาเป็นโหมด M เพราะเราจะบังคับควบคุมทุกอย่างเอง แม้กระทั่งโฟกัสก็ต้องเป็นแบบ Manual ครับ หมุนโฟกัสรอไว้ที่โขดหินเลย

-บีบรูรับแสงให้แคบสุด (หรือแคบมากๆ) เพื่อให้มันเอื้ออำนวยต่อสปีดชัตเตอร์ช้าๆ ของเรา แล้วก็ปรับสปีดชัตเตอร์ไปที่แถวๆ 15-20 วินาที ซึ่งในภาพของผมนั้นใช้รูรับแสง F/25 และสปีดชัตเตอร์ 15 วินาที

 จากนั้นก็รอจังหวะสักหน่อยครับ พอคลื่นวิ่งมาใกล้จะกระทบโขดหินก็ลั่นชัตเตอร์แล้วก็รอ ดูผลที่ได้แล้วก็ปรับตั้งอะไรๆ ซะใหม่ถ้ามันยังไม่ค่อยลงตัว เช่นถ้าภาพมันมืดไปก็อาจจะเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นอีกนิด หรือเพิ่มสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้นอีกหน่อย ...อะไรประมาณนี้

การรอจังหวะของลูกคลื่นเป็นสิ่งสำคัญนะครับ ไม่ใช่ว่าสปีดชัตเตอร์นานแล้วจะกดตอนไหนก็ได้ มันมีผลต่อสายหมอกในภาพของเราครับ




http://photonextor.com/board/index.php?topic=254.0
 ถ่ายภาพตามแสงและใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซิงตัดแสงสะท้อน
           หามุมสูงเข้าไว้จะได้เปรียบ ถ้าจะถ่ายภาพทะเลให้ดูยิ่งใหญ่และสวยงาม ให้พยายามมองหามุมสูง เช่น ภูเขาริมหาด ยอดตึกใกล้ๆ
           ให้เลือกวันที่ท้องฟ้าสดใส เวลาที่แดดส่องสว่าง ความโล่งโปร่งของท้องฟ้าที่สดใสเป็นสีฟ้า ปราศจากเมฆหมอก ในช่วงเวลาสายๆ ประมาณ 9.00-10.00 น. เป็นเวลาที่แดดส่องสว่าง สีของน้ำทะเล สีของหาดทราย รวมทั้งสีสันเสื้อผ้าของผู้คน ใบเรือ และโขดหิน จะเปล่งสีสันจัดจ้านชัดเจนกว่าเวลาอื่นๆ ช่วยทำให้ภาพของคุณมีเสน่ห์น่าประทับใจยิ่งขึ้น
           ตรงมุมหาดจะถ่ายภาพได้ง่ายกว่ากลางหาด ถ้าพบหาดทรายขาวๆ ยาวๆ ควรไปตั้งต้นที่มุมหาดด้านใดด้านหนึ่ง เพราะที่กลางหาด หาดทรายจะโล่งยาว เป็นแนวตรง ปราศจากความโค้งเว้าที่จะช่วยให้ภาพดูงดงามขึ้น และกลางหาดก็มักจะมีแต่เพียงหาดทรายกับน้ำทะเล ไม่มีแนวก้อนหินหรือทางน้ำไหล ที่จะช่วยเพิ่มลูกเล่นในภาพ 




ที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain/15041.html




จริง ๆ แล้วหลักการการถ่ายภาพทะเล หรือ  Seascape  ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพราะเราใช้เทคนิคเดียว กับการถ่ายภาพน้ำตกให้ดูนุ่ม และพริ้วไหว แค่เราปรับนิดหน่อยจากถ่ายน้ำตก มาถ่ายที่ทะเลแทน

  สมาชิกหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยพบกับปัญหาฟ้าหม่น หมอง หรือที่เรียกกันว่า "ฟ้าเน่า" มีแต่เมฆเต็มไปหมด เวลาที่ไปทะเล วันนี้มี เทคนิคการถ่ายภาพทะเลให้ภาพสวยงามในวันที่ฟ้าเน่า  โดยไม่ต้องซีเรียสเรื่องท้องฟ้า หรือก้อนเมฆเลย เพราะวันนี้เราจะแนะนำให้สมาชิก ไปจับจองโขดหินบริเวณริมชายหาด เพื่อจัด compose ของภาพให้ดูมีมิติ

จะเป็นทะเลนิ่ง ๆ หรือว่าจะเน้นคลื่นที่ซัดเข้าฝั่ง ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่านนะครับ 


 เทคนิคการถ่ายภาพทะเลสงบ ๆ เรียบ ๆ แบบนี้คือการถ่ายภาพโดย


   ใช้ speed ต่ำมาก ๆ  l
ongexposure  
(1-10 วินาที) เพื่อให้ทะเลดูราบเรียบราวกลับทะเลหมอกในยามเช้า
 หรือถ้าจะถ่ายจุดที่คลื่นซัดเข้าฝั่ง เราก็จะได้ภาพเกลียวคลื่นที่ดูพริ้วไหว หรือถ้าเราใช้สปีดต่ำมาก ๆ ภาพที่ได้จะเหมือนไอหมอกคลุมเหนือพื้นน้ำหรือโขดหินนั่นเอง และเพื่อให้ใช้ shutter speed ต่ำ ๆ ขนาดนี้ได้เราจึงต้องเลือก
ช้รูรับแสงแคบ ๆ  (f/8 – f/22) และ ISO (ความไวแสง) น้อย ๆ เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่สุด นอกจากนี้ช่วงเวลาที่ถ่ายภาพแนวนี้ควรเป็นช่วงเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเล็กน้อย หรือหลังพระอาทิตย์ตกดินเพราะเป็นช่วงที่แสงน้อยส่งผลให้ shutter speed ต่ำแบบที่เราต้องการ แถมด้วยแสงช่วงนี้จะเป็นโทนสีน้ำเงิน, สีชมพู, หรือสีเหลืองส้มแล้วแต่กรณีซึ่งทำให้ภาพดูงดงามไปอีกแบ