Background

ชนิดของกล้องถ่ายรูป Pt.1

คุณรู้หรือไม่ว่า....กล้องถ่ายรูปมีกี่ประเภท ??

แล้วแต่ละประเภทนั้น.....มีการใช้งานอย่างไร ?? 



เรามาทำความรู้จักกับกล้องถ่ายรูปชนิดต่างๆ กันดีกว่า เราจะได้เลือกใช้ได้ตรงตามความต้องการ ...
          
          กล้องถ่ายรูปนับเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากกล้องออบสคูร่า (Obscura) ที่มีลักษณะเป็นกล้องมืด (Dark room) และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เป็นต้นว่า ดาร์แก ทัลโบต บาร์แนก , ดันคัน อิสแมนต์ , แลนด์ และคนอื่น ๆ ปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 

1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera) 
          เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน มีขนาดรูรับแสงคงที่ อาจเป็น 8 หรือ 11 อันใดอันหนึ่ง และมีความเร็วชัดเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60 กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ 6 ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620 บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ถ่ายรูปได้ดีในสภาพที่มีแสงเพียงพอ



2. กล้องพับ (Folding Camera) 
          เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์สามารถพับเก็บ หรือยืดออกมาได้ นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วยฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่าง ๆ เช่น 120,127 และ 620 เป็นต้น



3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera) กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


  1. แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex) บางครั้งอาจเรียกว่า "กล้อง TLR" ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อนทำให้ผู้ถ่ายรูปมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้  ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสงเพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล์กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกันโดยเฉพาะสามารถที่มองภาพ จากบ้างบนกล้องได้โดยลดกล้องให้ต่ำลงแล้วก็มองภาพจากช่องมองได้สดวกสบาย อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย กล่าวคือเนื่องจากใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน 
          ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบนอาจจะไม่เหมือนกันเลยที่เดียวกับภาพที่ถ่าย ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยน จากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ ๆ บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไปแม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ นอกจากนี้ กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม . ได้ 
                                   



2. แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex) หรือเรียกว่า "SLR" ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ นอกจากนั้นมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย เพราะใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพอย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ อาจจะชำรุดได้ง่าย เพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา อีกประการหนึ่งเมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก อาจทำให้เกิดการรบกวนได้ โดยเฉพาะถ้านำไปถ่ายรูปสัตว์อาจทำให้เกิดการตื่นตระหนกตกใจได้ นอกจากนั้นเมื่อถ่ายรูปในที่ ๆ แสงมีน้อยอาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจนเพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจก และปริซึ่มภายในตัวกล้องทำให้ความเข้ม ของแสงลดลงไปได้ กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงมาก การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสง ก็มีมากฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก

ปล.ยังไม่หมดนะค่ะ ไว้จะมาต่ออีกพาร์ทนะ 

Credit: http://www.baanjomyut.com/

Categories: Share