Background

บทบาทของภาพถ่าย

คุณรู้หรือไม่ว่า บทบาทของภาพถ่ายเป็นอย่างไร?  
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า
 "บทบาทของภาพถ่าย" กันนะคะ 






          ภาพถ่ายเป็นสื่อสากลที่ทำให้ทุกคนเข้าใจ และภาพถ่ายนั้นสามารถสะท้อนสภาพชีวิต และบอกได้ถึงเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน ภาพถ่ายยังถือว่าเป็นศิลปวิทยาการแขนงหนึ่งอีกด้วย บทบาทของภาพถ่ายมีมากมายหลายด้าน สรุปได้ดังนี้ 

          1. บทบาทในการเป็นสื่อให้ข้อมูล (Information) คือ ภาพถ่ายสามารถแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้ดูเกิดความรู้ ความเข้าใจ อาจจะเรียกภาพถ่ายเหล่านี้ว่าเป็น "ภาพถ่ายทางการศึกษา" รวมถึงภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยการเก็บข้อมูลทาง มนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย 

          2. บทบาทในการใช้บันทึกข้อมูล (Recording) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจำเป็นต้องใช้การถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในปัจจุบัน  การบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่ายนั้นไม่ได้หมายถึงการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพที่มีฟิล์มเพื่อบันทึกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการถ่ายภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หรือด้วยแผ่นแม่เหล็กอีกด้วยดังนั้นรูปแบบของการบันทึกจึงแตกต่างกันไป ที่สำคัญก็คือสามารถบันทึกข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการใช้งานอย่างกว้างขวาง 

          3. บทบาทในการเป็นสื่อเพื่อความบันเทิง (Entertainment) คือ ภาพถ่ายประเภทนี้ทำให้ผู้ดูเกิดความพึงพอใจ เพราะ ภาพถ่ายจะแสดงถึงความสวยงาม เช่น ภาพสถานที่ท่องเที่ยว ภาพดอกไม้ ภาพถ่ายครอบครัว ญาติมิตรสนิทสนม เป็นต้น 

          4. บทบาทในการเป็นสื่อที่แสดงความรู้สึกนึกคิด (Self Expression) คือ ช่างภาพสามารถถ่ายทอด และแสดงแนวความคิดของตนให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งถือว่าเป็นภาพถ่ายแนวคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นของคนต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงถือได้ว่าเป็นภาพศิลปที่มีคุณค่ายิ่ง 

          5. บทบาทในการเป็นสื่อ เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัย (Discovery) โดยเฉพาะการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นต้นว่าการถ่ายภาพทางการแพทย์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยาตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

  • ภาพเป็นสื่อให้ข้อมูล
  • ภาพใช้บันทึกข้อมูล
  • ภาพเป็นสื่อที่แสดงความรู้สึกนึกคิดของบุคคล
  • ภาพเป็นสื่อเพื่อความบันเทิง
  • ภาพเป็นสื่อเพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัย
Credit: http://www.baanjomyut.com

Categories: Share