Background

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช

วันนี้เราจะมารู้จัก

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแฟลช




1. การส่องแสงแฟลชทางอ้อม (Indirect Flash) หรืออาจเรียกว่า "แฟลชสะท้อน" (Bounce Flash) คือ การใช้แสงแฟลชที่สะท้อนจากเพดานกำแพงหรือ แผ่นสะท้อนโดยเฉพาะ เพื่อการถ่ายภาพ ลำแสงที่ตกกระทบเพดานกำแพงหรือแผ่นสะท้อนลงบนวัตถุจะมีลักษณะนุ่ม และกระจาย ช่วยขจัดเงาดำ หรือแสงที่แข็งกระด้าง ข้อควรระวังในเรื่องนี้ก็ คือ การตั้งหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสง ควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 2 เอฟ สตอปจากการคำนวนได้ตามวิธีปกติ อย่างไรก็ตามถ้าใช้กระดาษแข็งสีขาวติดบนแฟลชเพื่อสะท้อนแสง กระดาษควรห่างจากแฟลชประมาณ 13 ซม . และตั้งมุมของกระดาษที่จะสามารถสะท้อนแสงให้ตกลงบนวัตถุได้ถูกต้อง แผ่นกระดาษสีขาวยังช่วยสะท้อนแสงแฟลชไปยังดวงตาให้เกิดแววในดวงตาอีกด้วย

2. การลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้น (Diffusing Flash) ในกรณีที่ต้องการลดแสงแฟลชให้นุ่มนวลขึ้นควรใช้แผ่นกรองแสงบังหน้าแฟลชไว้ซึ่งแผ่นกรองแสงนี้ มีลักษณะเป็นพลาสติคใสอาจใช้วัสดุอื่น ๆ แทนได้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า กระดาษเช็ดเลนส์ ถุงน่องของสุภาพสตรี เป็นต้น ควรใช้ยางหรือเชือกยึดติดตัวแฟลชให้แข็งแรง การตั้งขนาดรูรับแสงควรเพิ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 1-2 เอฟสต๊อปจากการคำนวนได้ตามวิธีการปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนา หรือบางของวัสดุ ที่บังหน้าแฟลช ภาพที่ได้จะมีลักษณะนุ่มนวล เพราะแสงไม่จ้าหรือแข็งเกินไป

3. การใช้แฟลชเสริม (Fill In Flash, Environmental Flash) ในบางครั้งการถ่ายภาพกลางวันขณะที่มีแดดจัด ๆ ทำให้ตาหยี มีเงาดำมากทำให้ ได้ภาพที่ไม่สวยงาม อาจใช้แฟลชช่วยลดเงา หรือเป็นแสงเสริมดวงอาทิตย์ เพื่อลบเงาที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งลักษณะนี้ต้องการแสงแฟลชประมาณ ? หรือ ? เท่าของ แสงแฟลชที่ใช้ในยามปกติ การเปิดขนาดรูรับแสงนั้นให้ใช้ขนาดเดียวกันกับที่ถ่ายด้วยแสงแดดอย่างเดียว หากแต่จะต้องคำนวณหาระยะทางที่เป็นที่ตั้งของแฟลช โดยเอาค่าของขนาดรูรับแสงหารด้วยไกด์นัมเบอร์ก็จะเป็นระยะห่างของตำแหน่งของแฟลชหรือของกล้องด้วยเมื่อติดแฟลชไว้บนตัวกล้องลักษณะนี้ แสงอาทิตย์และ แสงแฟลชจะมีความเข้มเท่ากัน ถ้าต้องการภาพสวยงามขึ้น อาจให้แสงอาทิตย์ส่องหลังวัตถุ และแฟลชส่องด้านหน้าจะได้ภาพที่มีความสวยงามนุ่มนวลแปลกตา เพราะ มีแสงสีขาวรอบ ๆ วัตถุด้วย ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ความเข้มของแสงของแฟลช เท่ากับแสงดวงอาทิตย์ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าหุ้มหลอดแฟลชช่วยลดความสว่างลงได้

4. การใช้แฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง (Painting With Flash, Open Flash) ในกรณีที่ต้องการแสงแฟลชส่องสว่างให้แก่ภาพอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ในเวลาถ่ายภาพกลางคืน หรือฉากที่มีแสงสว่างไม่พอ แต่ฉากนั้นมีความกว้างใหญ่มีพื้นที่มากแสงแฟลชไปไม่ถึง สามารถถ่ายภาพได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การเปิดแฟลชโดยไม่ต่อสายเข้ากล้อง วิธีทำก็ คือเปิดรูรับแสงไว้ที่ B หรือ T (Time Exposure) แล้วฉายแสงแฟลชซ้อนเข้าไปในภาพนั้น ๆ อาจฉายแสงได้มากครั้งตามที่ต้องการ โดยที่กล้องต้องผนึกให้แข็งแรงบนขาตั้งและ การฉายแสงแฟลชอาจใช้ ฟิลเตอร์สีต่าง ๆ ช่วยให้ภาพมีสีสันสวยงามตามจินตนาการได้ ในการเปิดรูรับแสงนั้น ให้ใช้หลักการคำนวณ โดยใช้ระยะทางจากแฟลชถึงวัตถุที่ถ่ายหารด้วยไกด์นัมเบอร์เช่นเดียวกันกับการใช้แฟลชปกติ ข้อควรคำนึงในการใช้เทคนิคนี้ก็ คือหลีกเลี่ยงการ ฉายแสงแฟลชเข้าหน้าเลนส์ถ่ายภาพเพราะจะทำให้เกิดแสงเป็นวง (Flare) ในภาพได้

ปล. พรุ่งนี้จะมาอัพอีกพาร์ทให้เสร็จนะคะ 


Credit : www.banjomyut.com
ภาพประกอบจาก : http://kajarp.files.wordpress.com/2009/12/20091129_tooktuun3.jpg

Categories: Share