Background

ชนิดของกล้องถ่ายรูป Pt.2

มาทำความรู้จักกับชนิดของกล้องถ่ายรูปต่อเลย....





4. กล้องเล็ก (Miniature Camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder) 
          กล้องชนิดนี้มีบางคนเรียกชื่อว่า "เรนจ์ไฟเดอร์" (Range Finder) และบางคนเรียกว่า "กล้อง 35 มม" เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐานคือ 35 มม กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น เพราะออกแบบเพื่อให้สะดวกสบายในการจับถือ มีทั้งชนิดที่ต้องปรับแต่ง และไม่ปรับแต่งความชัด ความเร็วชัดเตอร์ และขนาด ของรูรับแสงกล้องชนิดนี้มีลักษณะกระทัดรัดใช้ง่าย ราคาไม่แพงนัก อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียคือภาพถ่ายอาจเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ได้ถ้าถ่ายรูปใกล้กว่า 3 ฟุต เนื่องจากหน้าต่างหาระยะชัดของภาพตั้งอยู่คนละแห่งกับเลนส์คือจะอยู่เหนือเลนส์ถ่ายรูปเล็กน้อย ในปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้พัฒนา ให้เปลี่ยนเลนส์ได้ และมีอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบมากมายจึงทำให้มีผู้นิยมกล้องชนิดนี้อยู่พอสมควร 





5. กล้องนักสืบหรือกล้องเล็กพิเศษ ( Ultra-Miniature Camera) 
          เป็นกล้องที่มีน้ำหนักเบามาก กระทัดรัด มีขนาดเล็ก สามารถพกติดตัวไปได้สะดวกสบาย และสามารถแอบซ่อนเพื่อบันทึกภาพ ในกรณีที่ไม่ให้ผู้ถูกถ่ายรูปสังเกตได้กล้องชนิดนี้ ปรับหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ มีไฟแวบพร้อมในตัวกล้องใช้ฟิล์ม 16 มม . และกลักเบอร์ 110 





6. กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)
          เป็นกล้องที่ออกแบบใช้กับงานด้านหนังสือพิมพ์ ตัวกล้องมีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของกล้องคล้ายคลึงกับกล้องพับคือมีเบลโล (Bellow) สามารถปรับยืดย่นย่อได้ตามต้องการ ปกติกล้องชนิดนี้ ใช้กับฟิล์ม 120 หรือ ฟิล์มแผ่นขนาด 2 1/4 X 3 1/4 นิ้ว และ 4 X 5 เนื่องจากกล้องมีน้ำหนักมาก ดังนั้นนักข่าวหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจึงหันมาใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวแทนกล้องหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน 





7. กล้องใหญ่ (Studio Camera) 
          บางครั้งเรียกว่ากล้องวิว (View Camera) เป็นกล้องที่นิยมใช้ตามร้านถ่ายรูปเพื่อธุรกิจการค้า กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โตมีน้ำหนักมากจึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานภายนอกห้องถ่ายรูปและในการ ช้กล้องจำเป็นต้องมีขาตั้ง (Tripod) รองรับตัวกล้อง ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดต่าง ๆ เช่น 2 X 3 นิ้ว 5 X 7 นิ้ว 8 X 10 นิ้ว และ 11 X 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที ข้อดีของกล้องชนิดนี้คือจะไม่เกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) และยังสามารถมองเห็นภาพที่ช่องมองได้อย่างดี เพราะที่มองมีขนาดใหญ่ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพที่จะบันทึกนั้นได้ดีเนื่องจากมีกระจกขยายอันเป็นส่วนประกอบในช่องมองภาพ

          นอกจากนั้นยังสามารถปรับมุมของภาพได้ตามต้องการอย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบคือ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา อีกทั้งภาพจะไม่ชัดเจนดังนั้นผู้ถ่ายรูปต้องใช้ผ้าสีดำ คลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพ และคลุมศีรษะผู้ใช้ให้สามารถมองภาพได้ชัดเจน ในขณะปรับความคมชัด 






ปล. ต่ออีก 1 ประเภทพรุ่งนี้นะค่ะ อย่าลืมมาติดตามนะคะ ^^


Credit : http://www.banjomyut.com

Categories: Share